วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มรดกไทย

มรดกไทย


อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชรนครแห่งประวัติศาสตร์ราชธานีแห่งแรกของอาณาจักรไทยซึ่งหมายถึงเมืองแม่สุโขทัยมีบริวารรวมคือ เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชรดังที่ปรากฎว่าหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกสถานที่แห่งใดเป็นมรดกโลก
ทางวัฒนธรรมนั้นต้องประกอบด้วยความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับแนวความคิดหรือความเชื่อที่มีความสำคัญเป็นสากล หรืออาจเป็นตัวอย่างที่เด่นของวิถีชีวิตตามโบราณประเพณี รวมทั้งมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสวยงาม
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย อยู่ในจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย มีอายุเก่าแก่กว่า ๗๐๐ ปี มีสัญลักษณ์ประจำจังหวัดคือ พ่อขุนรามคำแหงประทับบนแท่นมนังคศิลา
สถาปัตยกรรมการก่อสร้างของศรีสัชนาลัยที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันนี้เกือบทั้งหมดใช้ศิลาแลงเป็นวัตถุก่อสร้าง ต่อมาใช้อิฐเป็นวัสดุเสริม ส่วนเครื่องมุงหลังคาทำด้วยไม้มุงกระเบื้องมีทั้งเผาและเคลือบลายสี เครื่องประดับหลังคาส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบเช่นเดียวกัน ลวดลายประดับเสา ฝาผนัง ซุ้มประตู ซุ้มจระนำ หน้าบัน หน้ากาลมักทำด้วยปูนปั้น เจดีย์ศรีสัชนาลัยมีลักษณะใหญ่ ๒ แบบ คือ เจดีย์ทรงลังกา ทรงกลม หรือทรงระฆังคว่ำ และเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงดอกบัวตูม นอกนั้นก็มีเจดีย์แบบวิมาน เจดีย์ทรงปราสาท แต่ไม่มากนัก
เครื่องสังคโลกคือเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากเตาสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และพิษณุโลก ทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ งานที่โดดเด่นที่สุด คือ เครื่องสังคโลกจากเตาศรีสัชนาลัย ศิลปะลวดลายบนเครื่องสังคโลกศรีสัชนาลัยนี้นมีรูปแรกหลากหลาย ลวดลายร้อยชนิดทั้งประเภทลายเขียนและลายขูด รวมทั้งสีสันของน้ำเคลือบ




อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
โบราณสถานนอกเมืองทิศใต้ เขตเมื่อเชลียง มีโบราณสถานมากมาย แบ่งเป็นอาณาเขตดังนี้วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ(วัดพระปรางค์)ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญ เช่น กุฏิพระร่วง หรือศาลาพระร่วง เป็นที่ประดิษฐานรูปพระร่วง พระลือ ปัจจุบันแสดงที่พิพิธภัณฑ์
สถานแห่งชาติ รามคำแหง สุโขทัย ส่วนของโบสถ์ ยังมีสภาพเป็นโบราณสถาน มีเสาศิลาแลงเรียงรายอยู่บนพื้นฐานยกสูง รอบๆฐานมีแท่งใบเสมาหลงเหลืออยู่ ต่อมาเมื่อ
ปีีพ.ศ.2499 ได้ทำการบูรณะปรับปรุงโบสถ์ให้เป็นที่ทำสังฆกรรมได้และจุดเด่นอีกแห่งคือ ด้านหลังของโบสถ์นั้น เป็นกำแพงแก้วขนาดใหญ่ล้อมรอบพระปรางค์ วิหารและเจดีย์ราย คันกำแพงทำด้วยเสาศิลาแลงกลมปักเรียงกัน ทับด้วยแท่นศิลาแลงรูปบัว
หลังเจียดอีกชั้นหนึ่ง ด้านหน้าเป็นประตูซุ้มยอดปรางค์ ฐานยอดปรางค์มีลายปูนปั้น
พระโพธิสัตว์เป็นรูปนางอัปสร งานประติมากรรมของสถานที่แห่งนี้จึงใกล้เคียงกับ
งานประติมากรรมสมัยบายนของเขมร มีเสาโคมไฟปักเรียงรายเป็นระยะโดยรอบ
ด้านในหัวเสาแต่ละต้นมีลวดลายปูนปั้นต่างแบบชนิดกันที่วัดพระปรางค์แห่งนี้จะ
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปั้นปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๖.๒๕ เมตร ด้านซ้ายพระประธานติดผนังด้านหลังมีพระลีลาปูนปั้นขนาดสูง ๓.๕๐ เมตร ส่วนด้านขวามีพระยืนปูนปั้นปางประทานอภัย ยืนในลักษณะโผล่ขึ้นมาจากพื้นดิน เพราะฐานยืนอยู่ลึกลงไป ๑.๒๐ เมตร ฐานชุกชีเป็นฐานสี่เหลี่ยมขนาด ๑๐.๒๐ เมตร คาดว่าเดิมคงมีพระพุทธรูปประดิษฐานอีกหลายองค์
สังเกตเห็นได้ว่า โบสถ์และโบราณสถานในกำแพงแก้วนั้น บ้างก็มีศิลปะเจดีย์แบบพม่า เรียกกันว่า “เจดีย์มุเตา” ลักษณะเป็นฐาน ๘ เหลี่ยม เส้นผ่าศูนย์กลาง๒๑.๙๑ เมตร เรียงซ้อนด้วยฐานเขียง ๘ เหลี่ยม อีก ๓ ชั้น ต่อด้วยฐานเขียงกลม ๑ ชั้น แล้วเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ขึ้นฐานบัวคว่ำกลมอีก ๑ ชั้น ต่อด้วยบัวถลา ๓ชั้น ขึ้นเรือนธาตุทรงกลมมีซุ้ม ๔ ทิศ ตอนบนชำรุด
ส่วนของวิหารนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งสององค์ เรียกกันว่า “พระสองพี่น้อง”แล้วยังมีขนาดย่อมลงมาอีก ๕ องค์
ประตูเมืองศรีสัชนาลัย ประตูเมืองศรีสัชนาลัย มีทั้งสิ้น ๙ ประตู และช่องขนาดเล็กทางด้านตะวันตกเฉียงใต้อีก ๑ ช่อง ประตูบางแห่งมีขนาดใหญ่แข็งแรงมีซุ้มหลังคาและยามเฝ้าดูแลความสงบเรียบร้อย บางแห่งมีขนาดเล็กพอคนเดินสวนทางกันได้ ไม่มีซุ้มหลังคา และคนคอยเฝ้าดูแลประจำ ประตูสำคัญ ๆ มีชื่อเฉพาะเรียกเช่น ประตูรามณรงค์ ประตูสะพานจันทร์ ฯลฯ แต่ขนาดเล็กไม่มีชื่อสิ่งที่สำคัญอีกอย่างของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย คือมีแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา ประเภทเครื่องชามสังคโลกที่งดงาม และมีเตาเผาสังคโลกที่เลื่องชื่อในอาณาเขตศรีสัชนาลัยชื่อว่า “เตาทุเรียง”
เตาเผาสังคโลก เครื่องสังคโลก เป็นประดิษฐกรรมที่นักโบราณคดี หรือนักสะสมของโบราณชื่นชอบและสนใจเป็นที่สุด แหล่งประดิษเครื่องสังคโลกมีอยู่หลายแห่งในดินแดนนี้อุตสาหกรรมการผลิตเครื่อง
ปั้นดินเผาบริเวณเกาะน้อย บ้านป่ายางเมืองศรีสัชนาลัย เป็นแหล่งผลิตสำคัญในเอเชีย
อาคเนย์ และเพียง ๒–๓แห่งในโลกในช่วงพุทธศตวรรษที่๒๐–๒๒กลุ่มเตาทุเรียงบ้านป่ายางอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม ห่างจากตัวเมืองโบราณคดีศรีสัชนาลัยประมาณ ๕๐๐ เมตร เป็นกลุ่มเตาเผาสังคโลกประมาณ ๒๑ เตา อยู่บนเนินดินทับถมสูง ๒เมตรเตาเผาที่พบเป็น เตาประทุน มีรูปร่างรีก่อหลังคาโค้งคล้ายประทุนเรือ เตาชนิด
นี้ให้ความร้อนสูงและสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ใช้สำหรับเผาเครื่องเคลือบ


อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร



เมืองกำแพงเพชรในอดีตเป็นเมืองที่มีปราการมั่นคงแข็งแรง เดิมชื่อว่าชากังราว เป็นเมือง
สำคัญคู่กับเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย พิษณุโลก (สองแคว) พิจิตร(สระหลวง) มีโบราณสถาน โบราณวัตถุมากมายในบริเวณพื้นที่สองฟากฝั่งแม่น้ำปิง
ในเนื้อที่ประมาณ๒,๔๐๗ ไร่ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงคือกำแพงเพชร ฝั่งตะวันตกเป็นเมือง
นครชุม ปัจจุบันเมืองกำแพงเพชรจัดเป็นมรดกโลก เพราะมีอุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งองค์ศึกษา
วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นมรดกโลก
เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔
ความเป็นมาของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
การปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชร เริ่มครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๗โดยคณะกรรมการปรับปรุงโบราณสถาน จังหวัดกำแพงเพชร และสุโขทัย โดยมีจอมพลถนอม กิติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธาน ปรับปรุงพื้นที่โบราณสถานไว้ ๑๘ แห่ง ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๕จึงได้ดำเนินการพัฒนาโบราณสถานให้เป็นอุทยานประศาสตร์ โดยกำหนดกลุ่มโบราณสถานออกเป็น ๔กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ ๑ บริเวณภายในกำแพงเมืองมีเนื้อที่ประมาณ ๓๐๔ ไร่ มีโบราณสถาน ๑๔ แห่ง เช่น วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ ฯลฯ
กลุ่มที่ ๒ บริเวณอรัญญิกทางด้านทิศเหนือของกำแพงเพชร เนื้อที่ ๑, ๖๑๑ ไร่ มีโบราณสถาน ๔๐ แห่ง เช่น วัดพระนอน วัดช้างรอบ วัดพระสี่อริยาบถ ฯลฯ
กลุ่มที่ ๓ บริเวณนอกเมืองทางด้านตะวันออก เนื้อที่ ๑๖ ไร่ ๓ งาน มีโบราณสถาน ๑๕ แห่ง เช่น วัดกะโลทัย ฯลฯ
กลุ่มที่ ๔ บริเวณทุ่งเศรษฐี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง (เมืองนครชุม) เนื้อที่ ๓๐ ไร่ มีโบราณสถาน เช่น วัดพระบรมธาตุ วัดเจดีย์กลางทุ่ง ฯลฯ

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อดีตราชธานีของไทยที่มีอายุยาวนานถึง ๔๑๗ ปี แสดงถึงความเป็นศูนย์กลางอารยธรรมของเอเชียอาคเนย์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่นานาอารยประเทศอีกด้วย แม้ว่าจะถูกทำลายเสียหายจากสงครามแต่ร่องรอยซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนั้นแสดงให้เห็นถึง
อัจฉริยภาพ และความสามารถอันยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษไทยที่ได้รังสรรค์บ้านเมืองให้มีความ
เจริญรุ่งเรืองทางศิลปวิทยาการทัดเทียมกับมหานครอื่นๆของโลกในยุคเดียวกัน ความสำคัญของพระนครศรีอยุธยาได้ปรากฎเด่นชัดขึ้น เมื่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔


เส้นทางการเดินทางท่องเที่ยว เมื่อทราบถึงภูมิหลังของพระนครศรีอยุธยาหรือประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาแล้วนั้น การเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์โบราณ

สถานที่สำคัญอันเป็นมรดกของโลกแห่งนี้ จึงมีการจัดวิธีการต่างๆ ของการเดินทางท่องเที่ยวด้วยวิธีง่ายๆ ประหยัด และมีผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวน้อยที่สุด ทั้งยังได้สัมผัสกับกลิ่นอายของความเจริญรุ่งเรืองอารยธรรมวัฒนธรรมในสมัยนั้นได้เป็น


แหล่งอารยธรรมบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
ในดินแดนอารยธรรมที่ยาวนานหลายพันป เห็นจะไม่มีที่ใดเกินหน้าชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีมนุษย์อาศัยอยู่หนาแน่นมาเป็นพันๆปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยนั้นแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถ ภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับ
สภาวะแวดล้อมของตนได้สืบต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน
สืบเนื่องจากการที่ แหล่งอารยธรรมบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ได้รับการยกย่องและขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ลำดับที่ ๓๕๙ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งนับเป็นเกียรติยศและเป็นที่ภาคภูมิใจแก่ชาวจังหวัดอุดรธานีสืบมา
บ้านเชียง คือแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาของสังคม และวัฒนธรรมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเผ่าพันธุ์สมัยโบราณเมื่อหลายพันปีในไทย
ปัจจุบันบ้านเชียงเป็นหมู่บ้านเขตการปกครองของตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวเมืองไปทิศตะวันออกตามทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี- สกลนคร รวมระยะทาง ๕๖ กิโลเมตร
จุดเด่นของบ้านเชียง คือเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตของพื้นที่หมู่บ้านนี้ โดยเฉพาะเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมีการจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ ๒ แห่ง ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านนี้คือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงและพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่วัดโพธิ์ศรีใน
ประวัติของชุมชนบ้านเชียง
เมื่อราว พ.ศ. ๒๓๖๐ ซึ่งในราวรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดสถานการณ์ทางการเมืองใน
ราชอาณาจักรลาวชาวพวนกลุ่มหนึ่งจากแขวงเชียงขวางจึงได้อพยพจากหมู่บ้านเดิน
ข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งไทยจากนั้นผู้อพยพหนีภัยกลุ่มนี้ได้เดินทางเคลื่อนย้ายต่อลึกจาก

ฝั่งแม่น้ำโขงเข่ามาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงบริเวณพื้นที่ป่าเรียกว่า ดงแพง ชาวพวนกลุ่มนี้พบว่าที่นี่บางส่วนเป็นเนินสูงน้ำท่วมไม่ถึงในฤดูฝน บริเวณรอบๆ ยังเป็นที่ลุ่มเหมาะแก่การทำนา และมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์
ชาวพวนกลุ่มนี้จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านเชียง มาตลอดแต่หลักฐานที่ขุดพบโบราณวัตถุจากพื้นที่เนินแห่ง

นี้ไม่ได้บอกว่า หมู่บ้านนี้มีอายุเพียงแค่ ๓๐ ปี หรือมากว่านั้น แต่มันบอกอายุมากกว่าพันปีทีเดียว




เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร - ห้วยขาแข้ง จัดเป็นผืนป่าธรรมชาติทีมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการกระจายพันธุ์สัตว์ป่าที่ที่สุด ปรากฎความหลากหลายทางธรรมชาติ และสัตว์ป่ามากมาย กลายเป็นผืนป่าที่ต้องอนุรักษ์ไว้ รวมพื้นที่ได้ถึง ๖,๒๒๒ ตารางกิโลเมตร หรือ ๓,๘๘๘,๘๗๕ ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ ๓ จังหวัด คือ อยู่ในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
ด้วยสภาพธรรมชาติที่หลากหลายของป่าไม้ทั้งชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ปรากฎว่ามีสัตว์ป่าจากหลายถิ่นกำเนิดมารวมกันในผืนป่าแห่งนี้ ซึ่งมีสัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ จนก่อให้เกิดแหล่งพันธุ์ป่าที่สำคัญ เป็นผลให้องค์การยูเนสโกได้ขึ้นบัญชีทุ่งใหญ่นเรศวร – ห้วยขาแข้งเป็นมรดกทางธรรมชาติของโลกเพียงแห่งเดียวของประเทศไทย
สภาพอากาศอยู่ในระหว่างกึ่งโซนร้อนกับโซนร้อน และอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีผลที่ทำให้มีฝน
เกือบตลอดฤดูฝนรวมทั้งอิทธิพลของพายุโซนร้อนในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นที่มาของน้ำฝนส่วนใหญ่ในพื้นที่
ในราวเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม อุณหภูมิทั่วไปไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป จึงทำให้เกิดความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด โดยที่ป่าห้วยขาแข้งเป็นป่าผืนใหญ่ มีเนื้อที่กว้างขวาง มีอาณาบริเวณติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ที่เชื่อมโยงไปถึงประเทศพม่า สัตว์ป่าสามารถหลบหลีกไปถึงกันได้ จึงมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุมรวมทั้งบางชนิดที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ ควายป่า ช้างป่า วัวแดง กระทิง กวาง เก้ง หมูป่า ลิง ชะนี ค่าง หมี สมเสร็จ เสือชนิดต่างๆ นกยูง ไก่ฟ้า นกหัวขวาน และนกชนิดอื่น ๆ อยู่กระจายทั่วไป
ชนิดป่าและพันธุ์ไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ป่าดงดิบ ( Tropical Evergreen Forest ) เป็นป่ารกทึบ เขียวชอุ่มตลอดปี ผืนป่าแห่งนี้มีลักษณะป่าดงดิบมากที่สุด พันธุ์ที่สำคัญ คือ ยาง ตะเคียน กระบาก ยมหิน มะค่าโมง กระท้อน สมพง สะเดา ปัก ปออี เป้ง ตาเสือ และพะวา ฯลฯ
ป่าดิบแล้ง ( Dry Evergreen Forest ) ลักษณะดินและพันธุ์ไม้คล้ายป่าดิบชื้น แต่มีความชุ่มชื้นน้อยกว่า มีฤดูแล้งประมาณ ๔ เดือน จะอยู่ตามสันปันน้ำ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ คือ มะค่าโมง พะวา สะเดา ปออกแตก และปอแดง ฯลฯ นอกนั้นเป็นไม้ทนร่มขนาดเล็ก เช่น ข่อย หนาม เข็มหนาม
ป่าเบญจพรรณ ( Mixed Deciduos Forest ) เป็นป่าโปร่งสลับอยู่ทั่วไปกับป่าดงดิบไปตลอดจนถึงลำห้วย พันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ ประดู่แดง ตีนนก มะกอก เสลา สมพง และกว้าว ฯลฯ
ป่าเต็งรังหรือป่าแดง ( Deciduous Dipterocarps Forest ) เป็นป่าโปร่งมีสลับอยู่ทั่วไปตามเขาและเนินดินสูงๆ พันธุ์ไม้สำคัญ เช่น เต็ง รัง เหียง พลวง รกฟ้า กระโดน ฯลฯ
ป่าไผ่ ( Bamboo Forest ) ขึ้นสลับอยู่ทั่วไป มีไผ่บง ไผ่รวก ไผ่สีสุก ไผ่นวล ไผ่หนาม และไผ่ป่า ฯลฯ

สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก
ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญขององค์การยูเนสโกในเรื่องมรดกโลก กรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ๒ สมัย



โดย ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุการที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ณ กรุงปารีส ได้ลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลก หรือถอนตัวออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก จะมีผลทางกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในของประเทศสมาชิกหรือไม่เพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับข้อบทแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. ๑๙๗๒ ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสนธิสัญญา ซึ่งปัจจุบันได้มีการประมวลไว้ในอนุสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๖๙ มีผลบังคับกับรัฐที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีกว่าร้อยประเทศ และส่วนใหญ่ก็ล้วนเป็นข้อบทที่เป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศตามจารีตประเพณี และในทางปฏิบัติของอารยะรัฐแล้วเกือบทั้งหมด จึงมีผลบังคับในทางปฏิบัติกับรัฐสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งเป็นภาคีและไม่เป็นภาคีโดยสมบูรณ์แบบตามอนุสัญญากรุงเวียนนา
ในสาระสำคัญนั้น อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. ๑๙๗๒ มีข้อบทที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเพิกถอน หรือถอนตัวจากการเป็นภาคีอนุสัญญา ตามข้อ ๓๕ วรรค ๑ ฉะนั้น จึงไม่มีปัญหาว่าผู้แทนไทยหรือหัวหน้าคณะผู้แทนไทยมีสิทธิอำนาจในการถอนตัวตามอนุสัญญาหรือไม่เพียงใด
ปัญหาซึ่งอาจตามมาคือ การถอนตัวหรือเพิกถอนการเป็นภาคี หรือสมาชิกสภาพของรัฐภาคีของคณะกรรมการมรดกโลก และอนุสัญญามรดกโลก จะมีผลทางกฏหมายเมื่อใดหรือภายใต้เงื่อนไขประการใด การแสดงเจตนาย่อมมีผลทันทีที่ได้แสดงออก แต่ผลทางกฎหมายนั้น สมาชิกภาพของไทยในคณะกรรมการมรดกโลกยังคงเป็นเช่นเดิมต่อไปอีก ๑๒ เดือน หากจะพิจารณาในแง่อนุสัญญาพหุภาคีแล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นการประกาศให้ภาคีอนุสัญญาอื่น ๆ ได้รับทราบ และคณะกรรมการมรดกโลกเองจะได้ปรับสถานภาพเกี่ยวกับสิทธิ และภาระหน้าที่ที่เกี่ยวกับประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมสำหรับคณะกรรมการและภาคีสมาชิกอื่น ๆ เพราะการถอนตัวย่อมกระทบกระเทือนสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกอื่นด้วย ฉะนั้น การให้โอกาสสมาชิกอื่นทราบเพื่อปรับตัวหรือตั้งข้อสังเกต ทัดทาน เห็นชอบ โต้แย้ง หรือตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลกระทบ เป็นสิ่งที่สังคมประชาคมและประชาชาติยอมรับเป็นทางปฏิบัติระหว่างอารยะประเทศ
เหตุผลที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้อรรถาธิบายไว้นั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแพร่หลายทั่วไปในด้านความชัดเจน แต่ในแง่ของการเมืองภายในประเทศ การลาออกเป็นสิ่งที่ไทยพึงกระทำมานานแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากการเป็นสมาชิกหรือเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก ประเทศสมาชิกต้องรับภาระชำระค่าบำรุงและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งไทยได้ประโยชน์เป็นนามธรรมเท่านั้น โดยได้ชื่อว่ามีสถานที่หลายแห่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อาทิ อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา สุโขทัย บ้านเชียง ทุ่งใหญ่นเรศวร ห้วยขาแข้ง และผืนป่าเขาดงพญาเย็น ฯลฯ โดยไทยได้ประโยชน์ในการเผยแพร่วัฒนธรรมซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของยูเนสโก
การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของยูเนสโกอย่างชัดเจน เนื่องจากยังมีปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งเป็นฝ่ายเสนอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตีความเพื่อขยายผลคำพิพากษาศาลโลก พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งไทยไม่เห็นด้วยและคัดค้านมาโดยตลอด คำพิพากษาดังกล่าวประกอบด้วยคำพิพากษาหลัก และคำพิพากษาแย้งในสาระสำคัญของผู้พิพากษาถึงสามท่าน รวมทั้งคำพิพากษาเอกเทศของผู้พิพากษาอีก ๑ ท่าน ที่ไม่ควรถูกละเลยหรือมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก ฯพณฯ ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือลงวันที่ ๖ กรกฎาคม ค.ศ.๑๙๖๒ ถึงนายอูถั่น ผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ ที่ส่งเวียนให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติรับทราบโดยทั่วกันว่า ไทยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลโลก เพราะขัดต่อสนธิสัญญา ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และขัดต่อหลักความยุติธรรม พร้อมกับมอบหมายให้ข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้แทนไทยในคณะกรรมการที่หก (กฎหมาย) แถลงเพิ่มเติม ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญที่ ๑๗ ค.ศ. ๑๙๖๒ คำแถลงดังกล่าวมีความยาวประมาณ ๔๐ หน้ากระดาษ เป็นภาษาอังกฤษโดยมีล่ามทำหน้าที่แปลเป็นภาษาทำงานทางการของสหประชาชาติทุกภาษา ทั้งนี้ ไม่ปรากฏว่ามีผู้แทนประเทศอื่นใดรวมทั้ง ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และกัมพูชา ตั้งข้อสังเกตหรือโต้แย้งแต่ประการใด
แม้จะไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาที่ไร้ความยุติธรรม ไทยก็ได้ปฏิบัติตามพันธะข้อ ๙๔ ของกฎบัตรสหประชาชาติอย่างครบถ้วน แต่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้น ธรรมนูญข้อ ๕๙ ของศาลฯ ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าไม่มีผลบังคับนอกจากประเทศคู่กรณี และจำกัดเฉพาะในกรณีพิพาทนั้นเท่านั้น ไม่ผูกพันประเทศอื่นหรือองค์การระหว่างประเทศใด ๆ หรือในข้อพิพาทอื่นใด จึงไม่ครอบคลุมไปถึงการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ประการใด ฉะนั้น การขยายความเกินเลยขอบเขตคำพิพากษาเดิม เพื่อนำมาใช้อ้างอิงประกอบการพิจารณาการขึ้นทะเบียนย่อมไม่สามารถทำได้ ไทยจึงสมควรลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกโดยด่วน มิฉะนั้น จะเป็นการยอมรับพันธะกรณีที่เกิดจากความผิดพลาดของยูเนสโก อันจะนำมาซึ่งความสูญเสียของประเทศชาติ
การถอนตัวจากอนุสัญญาสากลนั้น ความจริงเป็นอำนาจสิทธิขาดของรัฐภาคี โดยผ่านตัวแทนหรือคณะผู้แทนของรัฐภาคี โดยแถลงในที่ประชุมหรือยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน ส่วนเหตุผลที่รัฐบาลไทยใช้ประกอบการถอนตัวหรือความตื้นลึกหนาบางที่จะแถลงให้ประชาชนทราบเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐบาลไทย
โดยที่ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่คดีประสาทพระวิหารกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาการตีความคำพิพากษาเดิมเมื่อ ค.ศ. ๑๙๖๒ จึงยังเป็นสาระที่มีสถานะเป็นปัญหา “sub judice” ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จึงมิบังควรที่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือแม้แต่ผู้พิพากษาในคดีดังกล่าว ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย หรือนักนิติศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ จะลงความเห็นหรือวิพากวิจารณ์ก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาสิ้นเสร็จเด็ดขาด ทั้งนี้ เพราะการลงความเห็นก่อนกาลเป็นการสุ่มเสี่ยงในการหมิ่นอำนาจศาล หรือละเมิดจริยธรรมของนักกฎหมายระหว่างประเทศ นักนิติศาสตร์ผู้คุ้นเคยกับจริยธรรมในการประพฤติปฏิบัติ ย่อมต้องเคารพและปฏิบัติตามระเบียบวินัยของวงการอย่างเคร่งครัด
ข้าพเจ้าจึงขอเรียนชี้แจงในฐานะอดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญขององค์การยูเนสโกในเรื่องมรดกโลก กรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติถึงสองสมัยเป็นเวลา ๑๐ ปี เป็นผู้เสนอรายงานพิเศษ และประธานคณะกรรมการร่างกฎหมายที่ได้พิจารณาร่างอนุสัญญาต่าง ๆ รวมทั้งข้อบทอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความรับผิดชอบของรัฐ

วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง (24 มิถุนายน)

วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง (24 มิถุนายน)


วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง (24 มิถุนายน)

วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ทุกวันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี
การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือ การปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป
หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า (ถ้าหันหน้าไปทางเดียวกับหัวม้า จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ) มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ" เป็นหลักฐานถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมื่อ 72 ปีก่อน ข้อความเหล่านี้นับวันแต่จะเลือนหายไปตามกาลเวลา

คณะราษฎรที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นั้นประกอบด้วยคนสองกลุ่ม คือ
  1. กลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศ
  2. กลุ่มนายทหารในประเทศไทย
บุคคลทั้งสองกลุ่มพื้นฐานการศึกษาคล้ายกัน คือ ศึกษาวิชาพื้นฐานหรือวิชาชีพจากประเทศทางตะวันตก ใกล้ชิดกับการปกครองของประเทศที่ตนไปศึกษา คือ ได้สัมผัสกับบรรยากาศการปกครองในระบอบประธิปไตย เห็นความเจริญก้าวหน้าจากการที่ประชาชนในยุโรปตะวันตกมีส่วนร่วมในการปกครอง ประกอบกับบุคคลทั้งสองกลุ่มเป็นบุคคลที่มีสติปัญญาสูง ส่วนใหญ่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง จึงกำหนดในความคิดว่าตนควรจะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ
คณะผู้ก่อการยึดอำนาจการปกครอง ได้รวมกลุ่มกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ได้มีข้อขัดแย้งกับผู้ดูแลนักเรียนไทยในฝรั่งเศสซึ่งเป็นพระราชวงศ์องค์หนึ่ง ซึ่งกล่าวหาว่านักเรียนไทยเป็นพวกหัวรุนแรง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัย ควรเรียกบางคนกลับประเทศไทยำให้นักเรียนในต่างประเทศมีพื้นฐานการไม่พอใจสถานการณ์บ้านเมืองเป็นส่วนตัว คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เป็นนักเรียนไทยในต่างประเทศเมื่อกลับมาถึงประเทศไทย ก็ได้เตรียมการวางแผนยึดอำนาจโดยชักชวนให้กลุ่มนายทหารเข้าร่วมด้วย การยึดอำนาจการปกครองของประเทศไทยมีผู้กระทำมาครั้งหนึ่งแล้วใน ร.ศ.130กระทำไม่สำเร็จ ดังนั้นคณะราษฎรจึงได้วางแผนอย่างดีป้องกันข้อบกพร่องที่อาจมีขึ้น และการชัดชวนทหารเข้าร่วมด้วยจึงทำให้เกิดความสำเร็จเพราะทหารมีอาวุธ ผู้บริหารประเทศยินยอมให้คณะราษฎรยึดอำนาจไม่โต้แย้ง ด้วยเกรงว่าพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงประชาชนจะเป็นอันตรายเพราะอาวุธ
ชนวนที่ทำให้คณะราษฎรลงมือวางแผนยึดอำนาจมีหลายสาเหตุ ได้แก่
  • สาเหตุแรก สภาพบ้านเมืองในช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาอภิรัฐมนตรีสภาซึ่งสมาชิกทั้งหมดเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ด้วยเหตุผลที่จำให้แก้สถานการณ์ที่กล่าวว่า พระมหากษัตริย์กับพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่แตกแยกกัน อภิรัฐมนตรีสภาช่วยแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้หลายประการแต่ความคิดของผู้ใหญ่และของผู้เยาว์กว่าย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นการยับยั้งข้อเสนอบางเรื่องโดยเฉพาะพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเย้าอยู่หัวที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนชาวไทยในวาระราชวงศ์จักรีทรงปกครองแผ่นดินมาครบ 150 ปี จึงทำให้คณะราษฎรและกลุ่มหนังสือพิมพ์มองว่า พวกเจ้าหลงกับอำนาจ
  • สาเหตุที่สอง ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศรายได้ไม่พอกับรายจ่าย สืบเนื่องจากเศรษฐกิจของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และการใช้จ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว การแก้ไขคือ การดุลข้าราชการ ยุบเลิกหน่วยงานต่าง ๆ ตัดทอนค่าใช้จ่ายของกระทรวง กรม กอง และเก็บภาษีบางประการเพิ่มการแก้ไขดังนี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้เสียประโยชน์ ในวงการทหารก็เช่นกัน การขัดแย้งเรื่องงบประมาณกระทรวงกลาโหม จนถึงเสนาบดีกระทรวงกลาโหมขอลาออกจากราชการ จึงเป็นเหตุให้นายทหารคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในขณะที่มีการดุลข้าราชการออก ก็มีกลุ่มบุคคลมองว่าดุลออกเฉพาะสามัญชน ส่วนข้าราชการที่เป็นเจ้าไม่ต้องถูกดุล แล้วยังบรรจุเข้าทำงานแทนสามัญชนอีก ความแตกต่างทางฐานะด้านสังคมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง
  • สาเหตุที่สำคัญที่สุดก็คือ ความล่าช้าในการบริหารราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะฝึกข้าราชการในสภากรรมการองคมนตรีให้เรียนรู้วิธีการประชุม ปรึกษาแบบรัฐสภาเพื่อเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ก็ทำได้อย่างไม่มีผลเท่าไรนักพระราชบัญญติเทศบาลซึ่งจะเป็นรากฐานของการปกครองตนเองก็ยังไม่ได้ประกาศออกใช้ และข้อสุดท้ายคือ ร่างรัฐธรรมนูญที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ผู้ชำนาญการร่างไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่ได้พระราชทานแก่ประชาชน
การเปลี่ยนแปลงการปกครองกระทำได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน การปกครองของประเทศจึงเปลี่ยนไป คือมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ


76 ปี ประชาธิปไตยไทย

การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในยุครัตนโกสินทร์ ยั่งยืนมา 150 ปี จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) จนบัดนี้กำลังล่วงลุสู่ปีที่ 76 ในวันที่ 24 มิถุนายน 2551 ที่จะถึงนี้
เมื่อวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติได้ออกประกาศเรียกว่า ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 อ้างเหตุผลความจำเป็นในการต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองความว่า
"เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การณ์หาเป็นไปตามหวังที่คิดไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายตามเดิมทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณงามความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน ผลาญเงินทองของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้ในการตกต่ำในการเศรษฐกิจและความฝืดเคืองทำมาหากิน ซึ่งราษฎรได้รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย มิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้ การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎรตามที่รัฐบาลอื่นๆได้กระทำกัน ..... ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นได้โค่นราชบัลลังก์เสียแล้ว"
"ฯลฯ.......เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่า การที่จะแก้ความชั่วร้ายก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่มีประสงค์ทำการชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองของแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความเห็นนี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงม าก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่า ราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุก ๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว"
คณะผู้ก่อการปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์ ได้ประกาศนโยบาย โดยเรียกว่า "หลักใหญ่ๆที่คณะราษฎรวางไว้" มีอยู่ว่า
  1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
  2. จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
  3. ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
  4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎร เช่นที่เป็นอยู่)
  5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลักสี่ประการดังกล่าวข้างต้น
  6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
คณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติ ได้ให้ความหวังแก่ประชาชนในแถงการณ์สุดท้ายว่า "ราษฎรทั้งหลาย จงพร้อมกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันคงจะอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมาย พึงตั้งอยู่ในความสงบและตั้งหน้าหากิน อย่าทำการใดๆอันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลนของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาส พวกเจ้าหมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า "ศรีอาริย์" นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า"
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ รวมทั้งความเสียหายแก่บ้านเมือง และเนื่องจากพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว จึงไม่ทรงขัดความปรารถนาของคณะราษฎรที่ได้กราบบังคมทูลเชิญเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองและได้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวรดังกล่าว เหตุการณ์บ้านเมือง มีความสับสนวุ่นวาย อาญาสิทธิในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลายเป็นการผูกขาดอำนาจเผด็จการในระบอบประชาธิปไตยที่คณะราษฎรกำหนดให้ จนมีคำกล่าวขานเป็นคำคล้องจองว่า "พระยาพหลต้นคิด หลวงประดิษฐ์ต้นเรื่อง โค่นอำนาจพระราชา ปล่อยหมูปล่อยหมามานั่งเมือง"
วันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสละราชสมบัติ โดยพระราชหัตถเลขา ความว่า
"ข้าพเจ้าเห็นว่า คณะรัฐบาลและพวกพ้องใช้วิธีการปกครองไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคลและหลักความยุติธรรม ตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใด คณะใดใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้
ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจ อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาชน"
76 ปีที่ผ่านมาจนบัดนี้ สถานการณ์บ้านเมืองดังที่คณะราษฎรได้หยิบยกขึ้นมาประกอบเพื่อเป็นเหตุผลในการปฏิวัติยังคงมีอยู่อย่างครบถ้วนทุกประการ ซ้ำร้ายหลายประการยิ่งเลวร้ายขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่า"คนสอพลอไร้คุณงามความรู้ขึ้นดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญๆ การไม่ฟังเสียงราษฎร การปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในการรับสินบนทุจริตคอรัปชั่น การหากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน การปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม การทำตนอยู่เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้" หลักใหญ่ 5 ประการที่เสมือนนโยบายดังได้ประกาศไว้ และให้ความหวังไว้ว่าจะนำความสุขความเจริญอย่างประเสริฐเยี่ยง "ศรีอาริย์" มาบังเกิดแก่ราษฎรถ้วนหน้า ดูเหมือนกำลังจะนำพาประเทศชาติไปสู่ "กลียุค" เข้าทุกขณะ
ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 และฉบับต่อมาหลายฉบับ คือการ "ล้มเจ้า" และบังอาจจาบจ้วงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผยและร้ายแรงที่สุดต่อสาธารณะ
วันที่ 9 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงขึ้นครองราชย์ ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยพระราชปณิธานว่า "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
62 ปี ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาล และทศพิธ
ราชธรรมที่มั่นคง เป็นสิ่งที่นำพาชาติไทยให้ร่มเย็นเป็นสุขและอยู่รอดตลอดมา

เหตุการณ์กบฎ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)

เหตุการณ์กบฎ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)


ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ราวปีเศษ ทางการสืบทราบว่ามีคณะนายทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่งจัดตั้งสมาคม "อานาคิช" (Anarchist) มีสมาชิกประมาณ ๘๐๐ - ๑,๐๐๐ คน มีจุดมุ่งหมายวางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองลดพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ลงมาอยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนพระมหากษัตริย์อังกฤษหรือพระมหาจักรพรรดิญี่ปุ่น
ทางการจึงเข้าจับกุมตัวการสำคัญในการคบคิดวางแผนการในตอนเช้าวันศุกร์ที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ (ร.ศ. ๑๓๐)
ผู้ถูกจับกุมชุดแรกคือ นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ผู้บังคับกองพยาบาลโรงเรียนทหารบก ถูกจับที่โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม, นายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง สังกัดกรมพระธรรมนูญทหารบก ถูกจับที่บ้านถนนสุรศักดิ์ และนายร้อยตรีเจือ ศิลาอาศน์ สังกัดกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๒ ถูกจับที่กรมเสนาธิการทหารบก
การจับกุมตัวทหารผู้ก่อการกำเริบครั้งนี้ทำการหลายระลอก เฉพาะในวันแรกคือวันที่ ๑ มีนาคม จับกุมตัวนายทหารบกที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีที่ค้นพบจากบ้านขุนทวยหารพิทักษ์ ๕๘ คน เมื่อจับกุมมาได้ก็ให้มีการเขียนคำชี้แจงแบบซัดทอด ทำให้มีการขยายวงการสืบสวนออกไป และภายใน ๒ วัน ทางการก็จับกุมตัวผู้ต้องหาซัดทอดกันไปมาได้กว่าร้อยคน ส่วนผู้ต้องสงสัยแต่ยังไม่มีหลักฐานจับกุมเพียงพอก็ได้แต่งคนสะกดรอยเพื่อหาหลักฐานมัดตัวต่อไป เพราะหากหลักฐานไม่แน่นพอแล้วไปจับกุม สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ ทรงเกรงว่า จะทำให้ผู้คนแตกตื่นตกใจไปมาก
สมาชิกผู้เริ่มก่อการ
จากการสอบสวนของคณะกรรมการสรุปผลการสอบสวนและพิจารณาคดีซึ่งได้กราบบังคมทูลต่อองค์พระประมุขเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๓๑ (พ.ศ. ๒๔๕๕) มีความโดยย่อดังต่อไปนี้
คณะกลุ่มทหารบก นายทหารเรือ และบุคคลพลเรือนได้สมคบคิดกันเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมือง โดยเริ่มประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔ ตามศักราชเก่า) และประชุมต่อมาอีก ๗ ครั้งรวมเป็น ๘ ครั้งตามสถานที่ดังต่อไปนี้
สองครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม และ ๒๑ มกราคม ร.ศ. ๑๓๐ ที่บ้านนายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ ตำบลสาทร
ครั้งที่ ๓ วันที่ ๒๘ มกราคม ร.ศ. ๑๓๐ ที่โบสถ์ร้างวัดช่องลม ช่องนนทรี
ครั้งที่ ๔ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๓๐ ที่ทุ่งนาห่างจากสถานีรถไฟคลองเตย ประมาณ ๖๐๐ เมตร
ครั้งที่ ๕ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๓๐ ที่สวนผักของพระสุรทัณฑ์พิทักษ์ บิดาของนายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุทธยา ที่ตำบลศาลาแดง
ส่วนอีกสามครั้งหลัง คือวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์, วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๓๐ ประชุมที่อนุกูลคดีกิจสถาน แถววังบูรพาภิรมย์ ซึ่งเป็นสถานที่ว่าความของนายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง สำนักงานอนุกูลคดีกิจสถานใช้เป็นที่สมาชิกพบปะกันและเป็นสถานที่รับสมาชิกใหม่ด้วย
การประชุมครั้งแรกที่บ้านนายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์นั้น เป็นเสมือนหนึ่งสมาชิกผู้เริ่มก่อการมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ๙ คน คือ
นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ สังกัดกรมแพทย์ทหารบก อายุ ๓๐ ปี
นายร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์ สังกัดกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ อายุ ๒๐ ปี
ว่าที่นายร้อยตรีสิริ ชุณห์ประไพ สังกัดกรมทหารราบที่ ๑๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ อายุ ๒๒ ปี
นายร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รัชนิกร สังกัดกองโรงเรียนนายสิบ กองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ อายุ ๒๒ ปี
ว่าที่นายร้อยตรีเขียน อุทัยกุล สังกัดกองโรงเรียนนายสิบ กองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ อายุ ๒๕ ปี
นายร้อยตรีปลั่ง บูรณะโชติ สังกัดกองปืนกลที่ ๑ อายุ ๒๒ ปี
นายร้อยตรีสอน วงษ์โต สังกัดกองปืนกลที่ ๑ อายุ ๒๓ ปี
นายร้อยตรีจรูญ ษะตะเมษ สังกัดกองปืนกลที่ ๑ อายุ ๒๖ ปี

ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฏ ในประเทศไทย

ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฏ ในประเทศไทย

"กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร" โดยสาระสำคัญแล้ว การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมาก หากรัฐประหารครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า "ปฏิวัติ" แต่หากไม่สำเร็จ จะเรียกว่า "กบฏ"

นับจาก พ.ศ. ๒๔๗๕ - พ.ศ. ๒๕๓๔ มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง ทั้งที่เป็น การ"ปฏิวัติ" และเป็น "กบฏ" มีดังนี้
( เรียงลำดับ ดังนี้>>>พ.ศ. >>เหตุการณ์>>> หัวหน้าก่อการ>>> รัฐบาล )
ครั้งที่ ๑. ปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ เหตุกาณ์ปฏิวัติ ๒๔ มิถุนายน >>>โดยคณะของพ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา >>>ปฏิวัติยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อรัฐบาลพ่ออยู่หัวพระปกเกล้าฯ (ร.๗)
ครั้งที่ ๒. ปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ เหตุการณ์รัฐประหาร >>>โดยคณะของพ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา >>>ต่อรัฐบาลของ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ครั้งที่ ๓. ปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ กบฎบวรเดช >>>โดยคณะของพล.อ.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช >>>ต่อรัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
ครั้งที่ ๔. ปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ กบฎนายสิบ >>>โดยคณะของส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด >>>ต่อรัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
ครั้งที่ ๕. ปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ กบฎพระยาสุรเดช >>>โดยคณะของพ.อ.พระยาสุรเดช >>>ต่อรัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
ครั้งที่ ๖. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๐ รัฐประหาร>>> โดยคณะของพล.ท.ผิน ชุณหะวัณ >>>ต่อรัฐบาลของ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ครั้งที่ ๗. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ กบฎแบ่งแยกดินแดน >>>โดยคณะของส.ส.อีสานกลุ่มหนึ่ง >>>ต่อรัฐบาลของ นายควง อภัยวงศ์
ครั้งที่ ๘. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ รัฐประหาร >>>โดยคณะของคณะนายทหารบก >>>ต่อรัฐบาลของ นายควง อภัยวงศ์
ครั้งที่ ๙. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ กบฏเสนาธิการ >>>โดยคณะของพล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๐. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ กบฎวังหลวง >>>โดยคณะของนายปรีดี พนมยงค์ >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๑. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔ กบฎแมนฮัตตัน >>>โดยคณะของน.อ.อานน บุณฑริกธาดา >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๒. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔ รัฐประหาร >>>โดยคณะจอมพล โดยคณะของป. พิบูลสงคราม >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๓. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๗ กบฎสันติภาพ >>>โดยคณะของนายกุหราบ สายประสิทธิ์ >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๔. ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ รัฐประหาร >>>โดยคณะของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๕. ปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ รัฐประหาร >>>โดยคณะของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ถนอม กิตติขจร
ครั้งที่ ๑๖. ปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ รัฐประหาร >>>โดยคณะของจอมพล ถนอม กิตติขจร >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ถนอม กิตติขจร
ครั้งที่ ๑๗. ปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ ปฏิวัติ ๑๔ ตุลาคม >>>โดย ประชาชน >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ถนอม กิตติขจร

ครั้งที่ ๑๘. ปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ รัฐประหาร >>>โดยคณะของพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ >>>ต่อรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
ครั้งที่ ๑๙. ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ กบฎ ๒๖ มีนาคม >>>โดยคณะของ พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ >>>ต่อรัฐบาลของ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร

ครั้งที่ ๒๐. ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ รัฐประหาร >>>โดยคณะของพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ >>>ต่อรัฐบาลของ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร

ครั้งที่ ๒๑. ปีพุทธศักราช ๒๕๒๔ กบฎ ๑ เมษายน >>>โดยคณะของพล.อ.สัณห์ จิตรปฏิมา >>>ต่อรัฐบาลของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

ครั้งที่ ๒๒. ปีพุทธศักราช ๒๔๒๘ การก่อความไม่สงบ ๙ กันยายน>>> โดยคณะของ พ.อ.มนูญ รูปขจร *>>> ต่อรัฐบาลของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์


(* คณะบุคคลกลุ่มนี้ อ้างว่า พลเอก เสริม ณ นคร อดีตผู้บัญชาทหารสูงสุดเป็นหัวหน้า แต่หัวหน้าก่อการจริงคือ พ.อ. มนูญ รูปขจร )


ครั้งที่ ๒๓. ปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ รัฐประหาร >>>โดยคณะของพล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ >>>ต่อรัฐบาลของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ

ครั้งล่าสุด ปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ รัฐประหาร ๑๙ กันยายน >>>โดยคณะของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน >>>ต่อรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5




การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศจัดตั้ง "เสนาบดีสภา"และจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่12 กระทรวง ได้แก่ กลาโหม, นครบาล, วัง, เกษตรพานิชการ, พระคลัง, การต่างประเทศ, ยุทธนาธิการ, โยธาธิการ, ธรรมการ, ยุติธรรม ,มุรธาธิการ และมหาดไทย แทนจตุสดมภ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 หลังจากนั้นในวันที่ 1 เมษายน 2435 ทรงยุบกระทรวงที่ซ้ำซ้อนกันอยู่ทำให้เหลือกระทรวงเพียง 10 กระทรวง คือ มหาดไทย กลาโหม นครบาล วัง ต่างประเทศ พระคลังมหาสมบัติ โยธาธิการ ยุติธรรม ธรรมการ เกษตราธิการ
การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดการรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนต่างๆ ขึ้นเป็นเขตการปกครอง เรียกว่า "มณฑล"โดยมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองและขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกได้ดังนี้
การปกครองแบบเทศาภิบาล หลักการปกครองแบบนี้คือ รัฐบาลจะทำการปกครองหัวเมืองตั้งแต่ชั้นต่ำสุดถึงสูงสุด โดยเริ่มต้นจากพลเมืองเลือกผู้ใหญ่บ้าน และผู้ใหญ่บ้าน 10 หมู่บ้านมีสิทธิเลือกกำนันของตำบล ตำบลหลายๆ ตำบลมีพลเมืองประมาณ 10,000 คนรวมกันเป็นอำเภอ หลายอำเภอรวมกันเป็นเมือง และหลายเมืองรวมเป็นมณฑลโดยมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ดูแล
การปกครองท้องที่ ในพ.ศ.2440 รัชกาลที่ 5 ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ สำหรับการจัดการปกครองระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น ทรงริเริ่มจัดการ "สุขาภิบาล"ในเขตกรุงเทพ และตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อทดลองให้ประชาชนรู้จักการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น
ผลของการปฏิรูปการเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
  • ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในราชอาณาจักร เป็นผลจากการปกครองส่วนภูมิภาคในรูปมณฑลเทศาภิบาล โดยมีศูนย์รวมอยู่ที่กรุงเทพ
  • รัฐบาลไทยที่กรุงเทพฯ สามารถขยายอำนาจเข้าควบคุมพื้นที่ภายในพระราชอาณาจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ทำให้กลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์จากการปฏิรูปการปกครองพากันก่อปฏิกิริยาต่อต้านรัฐบาล ดังจะเห็นได้จากกบฏผู้มีบุญทางภาคอีสาน ร.ศ.121 กบฏเงื้ยวเมืองแพร่ ร.ศ.121 และกบฏแขกเจ็ดหัวเมือง แต่รัฐบาลก็สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้
การปฏิรูปการยุติธรรมและการศาล
ในพ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามริเริ่มปฏิรูปการศาลให้ดีขึ้น โดยการจัดตั้งศาลรับสั่งขึ้นตรงต่อพระองค์ เพื่อพิจารณาคดีความที่อยู่ในกรมพระนครบาล มหาดไทย กรมท่า เมื่อ รัชกาลที่ 5 ทรงรวมอำนาจศาลไปขึ้นกับส่วนกลาง ทำให้ค่าธรรมเนียมและรายได้ที่ขุนนางเคยได้ลดลง และไม่เปิดโอกาสให้ใช้อำนาจทางศาลในทางที่ผิดได้อีกต่อไป นอกจากนี้ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมในพ.ศ.2435 ด้วยเพื่อพิจารณาคดีอาญาและคดีแพ่งตามแบบตะวันตก โดยมอบหมายให้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งสำเร็จวิชากฏหมายจากประเทศอังกฤษเป็นผู้ดำเนินการ

ศาลยุติธรรมไทย

ศาลยุติธรรมไทย
ศาลยุติธรรม (The Court of Justice) เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น



มีความเป็นมา

ศาลยุติธรรมมีความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูกโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเป็นผู้ทรงพระราชอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีความให้แก่ราษฎรโดยยึดหลัก "คัมภีรพระธรรมศาสตร" ของอินเดีย ต่อมาเมื่อพระองค์มีราชกิจมากขึ้นไม่สามารถวินิจฉัยชี้ขาดคดีความด้วยพระองค์เองได้จึงทรงมอบพระราชอำนาจนี้ให้แก่พราหมณ์ปุโรหิตผู้มีความรู้ช่วยวินิจฉัยคดีต่าง ๆ แทนพระองค์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา ได้โปรดฯให้มีการตรวจชำระกฎหมายที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยนำมาปรับปรุงและบัญญัติขึ้นใหม่เรียกว่า "กฎหมายตราสามดวง"ศาลในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีอยู่มากมายหลายศาลกระจายกันอยู่ตามกระทรวงกรมต่าง ๆและมีหน้าที่ พิจารณาพิพากษาคดีต่างพระเนตรพระกรรณแทนพระมหากษัตริย์



ต่อมาเมื่อบ้านเมืองมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น มีการติดต่อกับชาวต่างชาติ ลัทธิชาวตะวันตกได้แผ่ขยายเข้ามาทำให้ระบบการศาลไทยมีการเปลี่ยนแปลงมิฉะนั้นอาจเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับชาติตะวันตกได้ จึงมีการปฏิรูประบบการศาลไทยขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีบทบาทในการวางรากฐานระบบการศาลยุติธรรม โดยได้รวมศาลที่กระจัดกระจายอยู่ตามกระทรวงกรมต่าง ๆ ให้มารวมไว้ในที่แห่งเดียวกัน เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีดำเนินไปด้วย ความรวดเร็ว ถูกต้อง เหมาะสมไม่ทำให้ราษฎรเดือดร้อน และในโอกาสที่กรุงเทพมหานครมีอายุครบ 100 ปี ซึ่งตรงกับวันที่ 21 เมษายน 2425พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทางขบวนพยุหยาตรามาวางศิลาก่อพระฤกษ์อาคารศาลสถิตย์ยุติธรรม และทรงโปรดฯ ให้จารึกพระราชปรารภในการจัดตั้งศาลยุติธรรมไว้ในแผ่นเงิน ซึ่งเรียกว่า"หิรัญบัตร" มีความกว้าง 9.5 ซ.ม. ยาว 37.2 ซ.ม. จำนวน 4 แผ่น ฝังอยู่ใต้อาคารศาลสถิตย์ ยุติธรรมบนแผ่นเงินจารึกด้วยอักษรไทยที่สวยงามและทรงคุณค่ามาก แสดงให้เห็นถึง พระบรมราโชบายในการปกครองแผ่นดินว่ามีพระราชประสงค์ให้ตั้งศาลขึ้นเพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดอรรถคดี ทรงเล็งเห็นว่าบ้านเมืองจะอยู่ด้วยความสงบสุขร่มเย็นต้องอาศัยการศาลเป็นสำคัญจึงทรงจัดระบบกฎหมายและระเบียบทางการศาลขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของชาติตะวันตก โดยมีกรมหลวงพิชิตปรีชากรและพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เป็นกำลังสำคัญในการแก้ไขกฎหมายและปฏิรูประบบการศาลยุติธรรมให้เจริญรุ่งเรืองเป็นที่ยอมรับของนานาอารยประะเทศ ศาลจึงเป็นสถาบันที่ประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมให้แก่ประชาชนสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้ และในโอกาสที่กรุงเทพมหานครครบรอบ 220 ปี ซึ่งตรงกับศาลยุติธรรมครบรอบ120ปี ในปี พ.ศ. 2545สำนักงานศาลยุติธรรมจึงร่วมกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ที่มีต่อศาลยุติธรรม จึงถือเอาวันที่ 21 เมษายนของทุกปีเป็น "วันศาลยุติธรรม"



ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น

ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย

ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค

ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด ที่มีอยู่เพียงศาลเดียว

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)
นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลของประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติไว้ว่า ต้องได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงจะขึ้นดำรงตำแหน่งได้ และอาจเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ก็ได้ ตามแต่รัฐธรรมนูญที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนั้น

ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนแรก คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และคนปัจจุบัน คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 หลังจากได้รับการเลือกในสภาด้วยคะแนน 235 ต่อ 198 (พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น บัญญัติให้มีขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยเรียกว่า ประธานคณะกรรมการราษฎร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 และภายหลังพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ตำแหน่งดังกล่าวจึงได้เปลี่ยนเป็น นายกรัฐมนตรี

การดำรงตำแหน่ง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติไว้ว่าเมื่อได้รับการเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้วต้องได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงจะขึ้นดำรงตำแหน่งได้ และอาจเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ก็ได้ ตามแต่รัฐธรรมนูญที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนั้น

นายกรัฐมนตรีส่วนใหญ่มักจะเป็นตัวแทนหรือหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร แม้รัฐธรรมนูญจะมิได้บัญญัติไว้เช่นนั้นก็ตาม

ธงประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย ตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522นายกรัฐมนตรีจะมีวาระการทำงานทั้งสิ้น 4 ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีมิได้

นายกรัฐมนตรีสามารถพ้นจากตำแหน่งได้จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยจะต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ญัตตินี้ต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปไว้ด้วย เมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้วจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้นายกรัฐมนตรีหลีกหนีการอภิปราย เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้เสียงครบ หากสมาชิกรัฐสภาลงมติไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งมีผลให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งด้วย



สถานที่ปฏิบัติงานและบ้านพัก
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (ยกเว้น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ซึ่งปฏิบัติงานที่อาคารสำนักงาน และอาคารรับรองพิเศษ ท่าอากาศยานดอนเมือง) จะเข้าปฏิบัติหน้าที่ภายในทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นสถานที่ราชการสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 27 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา

สำหรับบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คือบ้านพิษณุโลก ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ออกแบบและสร้างโดย มาริโอ ตามานโญ สถาปนิกประจำราชสำนักสยามชาวอิตาลี มีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน

รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ในเวลาที่นายกรัฐมนตรีมีเหตุทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือมีหน้าที่อื่นให้ปฏิบัติ เช่น เดินทางไปประชุมที่ต่างประเทศ ลาราชการ พ้นจากตำแหน่ง เป็นต้น

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

๑. การบริหารราชการส่วนกลาง ใช้หลักการรวมอำนาจ คือให้อำนาจการบังคับบัญชาและการวินิจฉัยสั่งการขั้นสูงสุดอยู่ในส่วนกลาง ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ แบ่งการบริหารราชการออกเป็น ๓ ส่วน คือ โดยแบ่งหน่วยงานออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม [รวมทั้งหน่วยงานที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม เช่น สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ราชบัณฑิตยสถาน ฯลฯ] หน่วยงานเหล่านี้ปรกติจะตั้งอยู่ในส่วนกลาง คือกรุงเทพมหานครอันเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล

ปัจจุบันการบริหารราชการส่วนกลาง มีดังนี้
ระดับกระทรวง มี ๑๔ กระทรวง (รวมสำนักนายกรัฐมนตรี)
ระดับทบวง มี ๑ ทบวง ระดับกรม มี ๑๓๖ กรม (ไม่รวมกรมต่าง ๆ ในกระทรวงกลาโหม และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่มีฐานะเทียบเท่ากรม)

๒. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ใช้หลักการแบ่งอำนาจ คือราชการส่วนกลางเป็นเจ้าของอำนาจ แล้วแบ่งอำนาจการบังคับบัญชาและการวินิจฉัยสั่งการให้แก่ภูมิภาคนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน เป็นการลดขั้นตอนต่าง ๆ ลง และการปฏิบัติของภูมิภาคนั้นจะต้องให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้จะต้องไม่ขัดต่อนโยบายของส่วนกลางหรือของรัฐบาลหรือตัวบทกฎหมายของประเทศ

อนึ่ง อำนาจที่แบ่งให้นั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความพอใจของส่วนกลาง และส่วนกลางแต่ละหน่วยก็แบ่งให้อาจไม่เท่ากัน เช่น บางกรมแบ่งการบริหารงานบุคคลให้ส่วนภูมิภาคแต่งตั้งโยกย้ายได้ตั้งแต่ระดับ ๔ ลงมา บางกรมให้ตั้งแต่ระดับ ๖ ลงมา บางกรมให้ตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมา
อำนาจที่แบ่งให้ไปนั้น ราชการบริหารส่วนกลางอาจจะเรียกกลับคืนเมื่อใดก็ได้
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค มี ๕ ระดับ คือ

๑. จังหวัด
๒. อำเภอ
๓. กิ่งอำเภอ
๔. ตำบล
๕. หมู่บ้าน

กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคโดยอนุโลม ทั้งนี้ก็เพราะในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินได้กำหนดการบริหารส่วนภูมิภาคไว้เพียง ๒ ระดับ คือจังหวัดและอำเภอ แล้วได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๘ อีกว่า "การปกครองอำเภอ นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่"
กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ในปัจจุบันจัดการบริหารราชการแผ่นดินในระดับรองลงมาจากอำเภอ ได้แก่ กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จึงจัดเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคด้วย
จังหวัด มี ๗๕ จังหวัด
อำเภอ มี ๗๒๙ อำเภอ
กิ่งอำเภอ มี ๘๑ กิ่งอำเภอ
ตำบล มี ๗,๑๕๙ ตำบล
หมู่บ้าน มี ๖๕,๑๗๐ หมู่บ้าน
(ข้อมูลประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๗)
๓. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ใช้หลักการกระจายอำนาจ คือส่วนกลางได้โอนมอบอำนาจระดับหนึ่งไปให้ประชาชนในท้องถิ่นไปดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายของประเทศหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน กิจกรรมที่ท้องถิ่นทำได้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการพัฒนา และที่ว่า "ปกครองตนเองอย่างอิสระ" นั้น หมายถึงมีอิสระในการตัดสินใจต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาหรือการเสริมสร้างสนับสนุนกิจกรรมของท้องถิ่น เช่น ออกข้อบังคับหรือระเบียบต่าง ๆ มาบังคับประชาชนในเขตการปกครองของตนได้ โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันมีรูปแบบดังนี้
๑. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อย่าสับสนกับจังหวัด)
๒. เทศบาล
๓. สุขาภิบาล
๔. ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่

๔.๑ กรุงเทพมหานคร ซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร บัญญัติไว้ในมาตรา ๖ ว่า "ให้กรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น..." ดังนั้นกรุงเทพฯ จึงไม่ใช้ "จังหวัด" ในความหมายของการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
๔.๒ เมืองพัทยา ซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารเมืองพัทยา บัญญัติไว้ในมาตรา ๗ ว่า "...ให้เมืองพัทยาเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น..." ดังนั้นเมืองพัทยาจึงมิใช่เทศบาล มิใช่สุขาภิบาล แต่เป็นราชการส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมายกำหนด
๔.๓ องค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ใหม่) ได้กำหนดให้สภาตำบลที่มีรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท โดยไม่รวมเงินอุดหนุนจากส่วนกลาง ติดต่อกัน ๓ ปี ให้ยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล และให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบล จึงเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตามที่กฎหมายสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด อย่างสับสนกับ "ตำบล" ที่เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค
ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันที่เป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัดมี ๗๕ เทศบาล ๑๓๘ สุขาภิบาล ๑,๐๗๕ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา อย่างละ ๑ แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่จัดตั้ง

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

"เยาวชนไทยห่างไกลยาเสพติด"

เยาวชนไทยห่างไกลยาเสพติด

สักวา ยาเสพติด พิษชั่วร้าย
บ่อนทำลาย ชนชาติ ศาสนา
ถ้าแม้นใคร หลงผิด ไปติดยา
เท่ากับพา ชิวิต มืดมิดลง
ทั้งยาม้า มหาภัย แพร่ไปทั่ว
ใครขืนมัว เสพมัน พลันลุ่มหลง
อีกตู้เกม ตู้ม้า พาพะวง
เหมือนเจาะจง ผลาญพร่า ฆ่าเด็กเอย