วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มรดกไทย

มรดกไทย


อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชรนครแห่งประวัติศาสตร์ราชธานีแห่งแรกของอาณาจักรไทยซึ่งหมายถึงเมืองแม่สุโขทัยมีบริวารรวมคือ เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชรดังที่ปรากฎว่าหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกสถานที่แห่งใดเป็นมรดกโลก
ทางวัฒนธรรมนั้นต้องประกอบด้วยความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับแนวความคิดหรือความเชื่อที่มีความสำคัญเป็นสากล หรืออาจเป็นตัวอย่างที่เด่นของวิถีชีวิตตามโบราณประเพณี รวมทั้งมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสวยงาม
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย อยู่ในจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย มีอายุเก่าแก่กว่า ๗๐๐ ปี มีสัญลักษณ์ประจำจังหวัดคือ พ่อขุนรามคำแหงประทับบนแท่นมนังคศิลา
สถาปัตยกรรมการก่อสร้างของศรีสัชนาลัยที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันนี้เกือบทั้งหมดใช้ศิลาแลงเป็นวัตถุก่อสร้าง ต่อมาใช้อิฐเป็นวัสดุเสริม ส่วนเครื่องมุงหลังคาทำด้วยไม้มุงกระเบื้องมีทั้งเผาและเคลือบลายสี เครื่องประดับหลังคาส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบเช่นเดียวกัน ลวดลายประดับเสา ฝาผนัง ซุ้มประตู ซุ้มจระนำ หน้าบัน หน้ากาลมักทำด้วยปูนปั้น เจดีย์ศรีสัชนาลัยมีลักษณะใหญ่ ๒ แบบ คือ เจดีย์ทรงลังกา ทรงกลม หรือทรงระฆังคว่ำ และเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงดอกบัวตูม นอกนั้นก็มีเจดีย์แบบวิมาน เจดีย์ทรงปราสาท แต่ไม่มากนัก
เครื่องสังคโลกคือเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากเตาสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และพิษณุโลก ทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ งานที่โดดเด่นที่สุด คือ เครื่องสังคโลกจากเตาศรีสัชนาลัย ศิลปะลวดลายบนเครื่องสังคโลกศรีสัชนาลัยนี้นมีรูปแรกหลากหลาย ลวดลายร้อยชนิดทั้งประเภทลายเขียนและลายขูด รวมทั้งสีสันของน้ำเคลือบ




อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
โบราณสถานนอกเมืองทิศใต้ เขตเมื่อเชลียง มีโบราณสถานมากมาย แบ่งเป็นอาณาเขตดังนี้วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ(วัดพระปรางค์)ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญ เช่น กุฏิพระร่วง หรือศาลาพระร่วง เป็นที่ประดิษฐานรูปพระร่วง พระลือ ปัจจุบันแสดงที่พิพิธภัณฑ์
สถานแห่งชาติ รามคำแหง สุโขทัย ส่วนของโบสถ์ ยังมีสภาพเป็นโบราณสถาน มีเสาศิลาแลงเรียงรายอยู่บนพื้นฐานยกสูง รอบๆฐานมีแท่งใบเสมาหลงเหลืออยู่ ต่อมาเมื่อ
ปีีพ.ศ.2499 ได้ทำการบูรณะปรับปรุงโบสถ์ให้เป็นที่ทำสังฆกรรมได้และจุดเด่นอีกแห่งคือ ด้านหลังของโบสถ์นั้น เป็นกำแพงแก้วขนาดใหญ่ล้อมรอบพระปรางค์ วิหารและเจดีย์ราย คันกำแพงทำด้วยเสาศิลาแลงกลมปักเรียงกัน ทับด้วยแท่นศิลาแลงรูปบัว
หลังเจียดอีกชั้นหนึ่ง ด้านหน้าเป็นประตูซุ้มยอดปรางค์ ฐานยอดปรางค์มีลายปูนปั้น
พระโพธิสัตว์เป็นรูปนางอัปสร งานประติมากรรมของสถานที่แห่งนี้จึงใกล้เคียงกับ
งานประติมากรรมสมัยบายนของเขมร มีเสาโคมไฟปักเรียงรายเป็นระยะโดยรอบ
ด้านในหัวเสาแต่ละต้นมีลวดลายปูนปั้นต่างแบบชนิดกันที่วัดพระปรางค์แห่งนี้จะ
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปั้นปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๖.๒๕ เมตร ด้านซ้ายพระประธานติดผนังด้านหลังมีพระลีลาปูนปั้นขนาดสูง ๓.๕๐ เมตร ส่วนด้านขวามีพระยืนปูนปั้นปางประทานอภัย ยืนในลักษณะโผล่ขึ้นมาจากพื้นดิน เพราะฐานยืนอยู่ลึกลงไป ๑.๒๐ เมตร ฐานชุกชีเป็นฐานสี่เหลี่ยมขนาด ๑๐.๒๐ เมตร คาดว่าเดิมคงมีพระพุทธรูปประดิษฐานอีกหลายองค์
สังเกตเห็นได้ว่า โบสถ์และโบราณสถานในกำแพงแก้วนั้น บ้างก็มีศิลปะเจดีย์แบบพม่า เรียกกันว่า “เจดีย์มุเตา” ลักษณะเป็นฐาน ๘ เหลี่ยม เส้นผ่าศูนย์กลาง๒๑.๙๑ เมตร เรียงซ้อนด้วยฐานเขียง ๘ เหลี่ยม อีก ๓ ชั้น ต่อด้วยฐานเขียงกลม ๑ ชั้น แล้วเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ขึ้นฐานบัวคว่ำกลมอีก ๑ ชั้น ต่อด้วยบัวถลา ๓ชั้น ขึ้นเรือนธาตุทรงกลมมีซุ้ม ๔ ทิศ ตอนบนชำรุด
ส่วนของวิหารนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งสององค์ เรียกกันว่า “พระสองพี่น้อง”แล้วยังมีขนาดย่อมลงมาอีก ๕ องค์
ประตูเมืองศรีสัชนาลัย ประตูเมืองศรีสัชนาลัย มีทั้งสิ้น ๙ ประตู และช่องขนาดเล็กทางด้านตะวันตกเฉียงใต้อีก ๑ ช่อง ประตูบางแห่งมีขนาดใหญ่แข็งแรงมีซุ้มหลังคาและยามเฝ้าดูแลความสงบเรียบร้อย บางแห่งมีขนาดเล็กพอคนเดินสวนทางกันได้ ไม่มีซุ้มหลังคา และคนคอยเฝ้าดูแลประจำ ประตูสำคัญ ๆ มีชื่อเฉพาะเรียกเช่น ประตูรามณรงค์ ประตูสะพานจันทร์ ฯลฯ แต่ขนาดเล็กไม่มีชื่อสิ่งที่สำคัญอีกอย่างของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย คือมีแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา ประเภทเครื่องชามสังคโลกที่งดงาม และมีเตาเผาสังคโลกที่เลื่องชื่อในอาณาเขตศรีสัชนาลัยชื่อว่า “เตาทุเรียง”
เตาเผาสังคโลก เครื่องสังคโลก เป็นประดิษฐกรรมที่นักโบราณคดี หรือนักสะสมของโบราณชื่นชอบและสนใจเป็นที่สุด แหล่งประดิษเครื่องสังคโลกมีอยู่หลายแห่งในดินแดนนี้อุตสาหกรรมการผลิตเครื่อง
ปั้นดินเผาบริเวณเกาะน้อย บ้านป่ายางเมืองศรีสัชนาลัย เป็นแหล่งผลิตสำคัญในเอเชีย
อาคเนย์ และเพียง ๒–๓แห่งในโลกในช่วงพุทธศตวรรษที่๒๐–๒๒กลุ่มเตาทุเรียงบ้านป่ายางอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม ห่างจากตัวเมืองโบราณคดีศรีสัชนาลัยประมาณ ๕๐๐ เมตร เป็นกลุ่มเตาเผาสังคโลกประมาณ ๒๑ เตา อยู่บนเนินดินทับถมสูง ๒เมตรเตาเผาที่พบเป็น เตาประทุน มีรูปร่างรีก่อหลังคาโค้งคล้ายประทุนเรือ เตาชนิด
นี้ให้ความร้อนสูงและสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ใช้สำหรับเผาเครื่องเคลือบ


อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร



เมืองกำแพงเพชรในอดีตเป็นเมืองที่มีปราการมั่นคงแข็งแรง เดิมชื่อว่าชากังราว เป็นเมือง
สำคัญคู่กับเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย พิษณุโลก (สองแคว) พิจิตร(สระหลวง) มีโบราณสถาน โบราณวัตถุมากมายในบริเวณพื้นที่สองฟากฝั่งแม่น้ำปิง
ในเนื้อที่ประมาณ๒,๔๐๗ ไร่ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงคือกำแพงเพชร ฝั่งตะวันตกเป็นเมือง
นครชุม ปัจจุบันเมืองกำแพงเพชรจัดเป็นมรดกโลก เพราะมีอุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งองค์ศึกษา
วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นมรดกโลก
เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔
ความเป็นมาของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
การปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชร เริ่มครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๗โดยคณะกรรมการปรับปรุงโบราณสถาน จังหวัดกำแพงเพชร และสุโขทัย โดยมีจอมพลถนอม กิติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธาน ปรับปรุงพื้นที่โบราณสถานไว้ ๑๘ แห่ง ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๕จึงได้ดำเนินการพัฒนาโบราณสถานให้เป็นอุทยานประศาสตร์ โดยกำหนดกลุ่มโบราณสถานออกเป็น ๔กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ ๑ บริเวณภายในกำแพงเมืองมีเนื้อที่ประมาณ ๓๐๔ ไร่ มีโบราณสถาน ๑๔ แห่ง เช่น วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ ฯลฯ
กลุ่มที่ ๒ บริเวณอรัญญิกทางด้านทิศเหนือของกำแพงเพชร เนื้อที่ ๑, ๖๑๑ ไร่ มีโบราณสถาน ๔๐ แห่ง เช่น วัดพระนอน วัดช้างรอบ วัดพระสี่อริยาบถ ฯลฯ
กลุ่มที่ ๓ บริเวณนอกเมืองทางด้านตะวันออก เนื้อที่ ๑๖ ไร่ ๓ งาน มีโบราณสถาน ๑๕ แห่ง เช่น วัดกะโลทัย ฯลฯ
กลุ่มที่ ๔ บริเวณทุ่งเศรษฐี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง (เมืองนครชุม) เนื้อที่ ๓๐ ไร่ มีโบราณสถาน เช่น วัดพระบรมธาตุ วัดเจดีย์กลางทุ่ง ฯลฯ

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อดีตราชธานีของไทยที่มีอายุยาวนานถึง ๔๑๗ ปี แสดงถึงความเป็นศูนย์กลางอารยธรรมของเอเชียอาคเนย์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่นานาอารยประเทศอีกด้วย แม้ว่าจะถูกทำลายเสียหายจากสงครามแต่ร่องรอยซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนั้นแสดงให้เห็นถึง
อัจฉริยภาพ และความสามารถอันยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษไทยที่ได้รังสรรค์บ้านเมืองให้มีความ
เจริญรุ่งเรืองทางศิลปวิทยาการทัดเทียมกับมหานครอื่นๆของโลกในยุคเดียวกัน ความสำคัญของพระนครศรีอยุธยาได้ปรากฎเด่นชัดขึ้น เมื่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔


เส้นทางการเดินทางท่องเที่ยว เมื่อทราบถึงภูมิหลังของพระนครศรีอยุธยาหรือประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาแล้วนั้น การเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์โบราณ

สถานที่สำคัญอันเป็นมรดกของโลกแห่งนี้ จึงมีการจัดวิธีการต่างๆ ของการเดินทางท่องเที่ยวด้วยวิธีง่ายๆ ประหยัด และมีผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวน้อยที่สุด ทั้งยังได้สัมผัสกับกลิ่นอายของความเจริญรุ่งเรืองอารยธรรมวัฒนธรรมในสมัยนั้นได้เป็น


แหล่งอารยธรรมบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
ในดินแดนอารยธรรมที่ยาวนานหลายพันป เห็นจะไม่มีที่ใดเกินหน้าชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีมนุษย์อาศัยอยู่หนาแน่นมาเป็นพันๆปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยนั้นแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถ ภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับ
สภาวะแวดล้อมของตนได้สืบต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน
สืบเนื่องจากการที่ แหล่งอารยธรรมบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ได้รับการยกย่องและขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ลำดับที่ ๓๕๙ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งนับเป็นเกียรติยศและเป็นที่ภาคภูมิใจแก่ชาวจังหวัดอุดรธานีสืบมา
บ้านเชียง คือแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาของสังคม และวัฒนธรรมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเผ่าพันธุ์สมัยโบราณเมื่อหลายพันปีในไทย
ปัจจุบันบ้านเชียงเป็นหมู่บ้านเขตการปกครองของตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวเมืองไปทิศตะวันออกตามทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี- สกลนคร รวมระยะทาง ๕๖ กิโลเมตร
จุดเด่นของบ้านเชียง คือเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตของพื้นที่หมู่บ้านนี้ โดยเฉพาะเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมีการจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ ๒ แห่ง ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านนี้คือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงและพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่วัดโพธิ์ศรีใน
ประวัติของชุมชนบ้านเชียง
เมื่อราว พ.ศ. ๒๓๖๐ ซึ่งในราวรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดสถานการณ์ทางการเมืองใน
ราชอาณาจักรลาวชาวพวนกลุ่มหนึ่งจากแขวงเชียงขวางจึงได้อพยพจากหมู่บ้านเดิน
ข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งไทยจากนั้นผู้อพยพหนีภัยกลุ่มนี้ได้เดินทางเคลื่อนย้ายต่อลึกจาก

ฝั่งแม่น้ำโขงเข่ามาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงบริเวณพื้นที่ป่าเรียกว่า ดงแพง ชาวพวนกลุ่มนี้พบว่าที่นี่บางส่วนเป็นเนินสูงน้ำท่วมไม่ถึงในฤดูฝน บริเวณรอบๆ ยังเป็นที่ลุ่มเหมาะแก่การทำนา และมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์
ชาวพวนกลุ่มนี้จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านเชียง มาตลอดแต่หลักฐานที่ขุดพบโบราณวัตถุจากพื้นที่เนินแห่ง

นี้ไม่ได้บอกว่า หมู่บ้านนี้มีอายุเพียงแค่ ๓๐ ปี หรือมากว่านั้น แต่มันบอกอายุมากกว่าพันปีทีเดียว




เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร - ห้วยขาแข้ง จัดเป็นผืนป่าธรรมชาติทีมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการกระจายพันธุ์สัตว์ป่าที่ที่สุด ปรากฎความหลากหลายทางธรรมชาติ และสัตว์ป่ามากมาย กลายเป็นผืนป่าที่ต้องอนุรักษ์ไว้ รวมพื้นที่ได้ถึง ๖,๒๒๒ ตารางกิโลเมตร หรือ ๓,๘๘๘,๘๗๕ ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ ๓ จังหวัด คือ อยู่ในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
ด้วยสภาพธรรมชาติที่หลากหลายของป่าไม้ทั้งชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ปรากฎว่ามีสัตว์ป่าจากหลายถิ่นกำเนิดมารวมกันในผืนป่าแห่งนี้ ซึ่งมีสัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ จนก่อให้เกิดแหล่งพันธุ์ป่าที่สำคัญ เป็นผลให้องค์การยูเนสโกได้ขึ้นบัญชีทุ่งใหญ่นเรศวร – ห้วยขาแข้งเป็นมรดกทางธรรมชาติของโลกเพียงแห่งเดียวของประเทศไทย
สภาพอากาศอยู่ในระหว่างกึ่งโซนร้อนกับโซนร้อน และอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีผลที่ทำให้มีฝน
เกือบตลอดฤดูฝนรวมทั้งอิทธิพลของพายุโซนร้อนในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นที่มาของน้ำฝนส่วนใหญ่ในพื้นที่
ในราวเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม อุณหภูมิทั่วไปไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป จึงทำให้เกิดความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด โดยที่ป่าห้วยขาแข้งเป็นป่าผืนใหญ่ มีเนื้อที่กว้างขวาง มีอาณาบริเวณติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ที่เชื่อมโยงไปถึงประเทศพม่า สัตว์ป่าสามารถหลบหลีกไปถึงกันได้ จึงมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุมรวมทั้งบางชนิดที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ ควายป่า ช้างป่า วัวแดง กระทิง กวาง เก้ง หมูป่า ลิง ชะนี ค่าง หมี สมเสร็จ เสือชนิดต่างๆ นกยูง ไก่ฟ้า นกหัวขวาน และนกชนิดอื่น ๆ อยู่กระจายทั่วไป
ชนิดป่าและพันธุ์ไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ป่าดงดิบ ( Tropical Evergreen Forest ) เป็นป่ารกทึบ เขียวชอุ่มตลอดปี ผืนป่าแห่งนี้มีลักษณะป่าดงดิบมากที่สุด พันธุ์ที่สำคัญ คือ ยาง ตะเคียน กระบาก ยมหิน มะค่าโมง กระท้อน สมพง สะเดา ปัก ปออี เป้ง ตาเสือ และพะวา ฯลฯ
ป่าดิบแล้ง ( Dry Evergreen Forest ) ลักษณะดินและพันธุ์ไม้คล้ายป่าดิบชื้น แต่มีความชุ่มชื้นน้อยกว่า มีฤดูแล้งประมาณ ๔ เดือน จะอยู่ตามสันปันน้ำ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ คือ มะค่าโมง พะวา สะเดา ปออกแตก และปอแดง ฯลฯ นอกนั้นเป็นไม้ทนร่มขนาดเล็ก เช่น ข่อย หนาม เข็มหนาม
ป่าเบญจพรรณ ( Mixed Deciduos Forest ) เป็นป่าโปร่งสลับอยู่ทั่วไปกับป่าดงดิบไปตลอดจนถึงลำห้วย พันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ ประดู่แดง ตีนนก มะกอก เสลา สมพง และกว้าว ฯลฯ
ป่าเต็งรังหรือป่าแดง ( Deciduous Dipterocarps Forest ) เป็นป่าโปร่งมีสลับอยู่ทั่วไปตามเขาและเนินดินสูงๆ พันธุ์ไม้สำคัญ เช่น เต็ง รัง เหียง พลวง รกฟ้า กระโดน ฯลฯ
ป่าไผ่ ( Bamboo Forest ) ขึ้นสลับอยู่ทั่วไป มีไผ่บง ไผ่รวก ไผ่สีสุก ไผ่นวล ไผ่หนาม และไผ่ป่า ฯลฯ

สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก
ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญขององค์การยูเนสโกในเรื่องมรดกโลก กรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ๒ สมัย



โดย ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุการที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ณ กรุงปารีส ได้ลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลก หรือถอนตัวออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก จะมีผลทางกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในของประเทศสมาชิกหรือไม่เพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับข้อบทแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. ๑๙๗๒ ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสนธิสัญญา ซึ่งปัจจุบันได้มีการประมวลไว้ในอนุสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๖๙ มีผลบังคับกับรัฐที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีกว่าร้อยประเทศ และส่วนใหญ่ก็ล้วนเป็นข้อบทที่เป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศตามจารีตประเพณี และในทางปฏิบัติของอารยะรัฐแล้วเกือบทั้งหมด จึงมีผลบังคับในทางปฏิบัติกับรัฐสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งเป็นภาคีและไม่เป็นภาคีโดยสมบูรณ์แบบตามอนุสัญญากรุงเวียนนา
ในสาระสำคัญนั้น อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. ๑๙๗๒ มีข้อบทที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเพิกถอน หรือถอนตัวจากการเป็นภาคีอนุสัญญา ตามข้อ ๓๕ วรรค ๑ ฉะนั้น จึงไม่มีปัญหาว่าผู้แทนไทยหรือหัวหน้าคณะผู้แทนไทยมีสิทธิอำนาจในการถอนตัวตามอนุสัญญาหรือไม่เพียงใด
ปัญหาซึ่งอาจตามมาคือ การถอนตัวหรือเพิกถอนการเป็นภาคี หรือสมาชิกสภาพของรัฐภาคีของคณะกรรมการมรดกโลก และอนุสัญญามรดกโลก จะมีผลทางกฏหมายเมื่อใดหรือภายใต้เงื่อนไขประการใด การแสดงเจตนาย่อมมีผลทันทีที่ได้แสดงออก แต่ผลทางกฎหมายนั้น สมาชิกภาพของไทยในคณะกรรมการมรดกโลกยังคงเป็นเช่นเดิมต่อไปอีก ๑๒ เดือน หากจะพิจารณาในแง่อนุสัญญาพหุภาคีแล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นการประกาศให้ภาคีอนุสัญญาอื่น ๆ ได้รับทราบ และคณะกรรมการมรดกโลกเองจะได้ปรับสถานภาพเกี่ยวกับสิทธิ และภาระหน้าที่ที่เกี่ยวกับประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมสำหรับคณะกรรมการและภาคีสมาชิกอื่น ๆ เพราะการถอนตัวย่อมกระทบกระเทือนสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกอื่นด้วย ฉะนั้น การให้โอกาสสมาชิกอื่นทราบเพื่อปรับตัวหรือตั้งข้อสังเกต ทัดทาน เห็นชอบ โต้แย้ง หรือตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลกระทบ เป็นสิ่งที่สังคมประชาคมและประชาชาติยอมรับเป็นทางปฏิบัติระหว่างอารยะประเทศ
เหตุผลที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้อรรถาธิบายไว้นั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแพร่หลายทั่วไปในด้านความชัดเจน แต่ในแง่ของการเมืองภายในประเทศ การลาออกเป็นสิ่งที่ไทยพึงกระทำมานานแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากการเป็นสมาชิกหรือเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก ประเทศสมาชิกต้องรับภาระชำระค่าบำรุงและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งไทยได้ประโยชน์เป็นนามธรรมเท่านั้น โดยได้ชื่อว่ามีสถานที่หลายแห่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อาทิ อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา สุโขทัย บ้านเชียง ทุ่งใหญ่นเรศวร ห้วยขาแข้ง และผืนป่าเขาดงพญาเย็น ฯลฯ โดยไทยได้ประโยชน์ในการเผยแพร่วัฒนธรรมซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของยูเนสโก
การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของยูเนสโกอย่างชัดเจน เนื่องจากยังมีปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งเป็นฝ่ายเสนอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตีความเพื่อขยายผลคำพิพากษาศาลโลก พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งไทยไม่เห็นด้วยและคัดค้านมาโดยตลอด คำพิพากษาดังกล่าวประกอบด้วยคำพิพากษาหลัก และคำพิพากษาแย้งในสาระสำคัญของผู้พิพากษาถึงสามท่าน รวมทั้งคำพิพากษาเอกเทศของผู้พิพากษาอีก ๑ ท่าน ที่ไม่ควรถูกละเลยหรือมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก ฯพณฯ ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือลงวันที่ ๖ กรกฎาคม ค.ศ.๑๙๖๒ ถึงนายอูถั่น ผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ ที่ส่งเวียนให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติรับทราบโดยทั่วกันว่า ไทยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลโลก เพราะขัดต่อสนธิสัญญา ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และขัดต่อหลักความยุติธรรม พร้อมกับมอบหมายให้ข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้แทนไทยในคณะกรรมการที่หก (กฎหมาย) แถลงเพิ่มเติม ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญที่ ๑๗ ค.ศ. ๑๙๖๒ คำแถลงดังกล่าวมีความยาวประมาณ ๔๐ หน้ากระดาษ เป็นภาษาอังกฤษโดยมีล่ามทำหน้าที่แปลเป็นภาษาทำงานทางการของสหประชาชาติทุกภาษา ทั้งนี้ ไม่ปรากฏว่ามีผู้แทนประเทศอื่นใดรวมทั้ง ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และกัมพูชา ตั้งข้อสังเกตหรือโต้แย้งแต่ประการใด
แม้จะไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาที่ไร้ความยุติธรรม ไทยก็ได้ปฏิบัติตามพันธะข้อ ๙๔ ของกฎบัตรสหประชาชาติอย่างครบถ้วน แต่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้น ธรรมนูญข้อ ๕๙ ของศาลฯ ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าไม่มีผลบังคับนอกจากประเทศคู่กรณี และจำกัดเฉพาะในกรณีพิพาทนั้นเท่านั้น ไม่ผูกพันประเทศอื่นหรือองค์การระหว่างประเทศใด ๆ หรือในข้อพิพาทอื่นใด จึงไม่ครอบคลุมไปถึงการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ประการใด ฉะนั้น การขยายความเกินเลยขอบเขตคำพิพากษาเดิม เพื่อนำมาใช้อ้างอิงประกอบการพิจารณาการขึ้นทะเบียนย่อมไม่สามารถทำได้ ไทยจึงสมควรลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกโดยด่วน มิฉะนั้น จะเป็นการยอมรับพันธะกรณีที่เกิดจากความผิดพลาดของยูเนสโก อันจะนำมาซึ่งความสูญเสียของประเทศชาติ
การถอนตัวจากอนุสัญญาสากลนั้น ความจริงเป็นอำนาจสิทธิขาดของรัฐภาคี โดยผ่านตัวแทนหรือคณะผู้แทนของรัฐภาคี โดยแถลงในที่ประชุมหรือยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน ส่วนเหตุผลที่รัฐบาลไทยใช้ประกอบการถอนตัวหรือความตื้นลึกหนาบางที่จะแถลงให้ประชาชนทราบเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐบาลไทย
โดยที่ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่คดีประสาทพระวิหารกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาการตีความคำพิพากษาเดิมเมื่อ ค.ศ. ๑๙๖๒ จึงยังเป็นสาระที่มีสถานะเป็นปัญหา “sub judice” ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จึงมิบังควรที่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือแม้แต่ผู้พิพากษาในคดีดังกล่าว ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย หรือนักนิติศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ จะลงความเห็นหรือวิพากวิจารณ์ก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาสิ้นเสร็จเด็ดขาด ทั้งนี้ เพราะการลงความเห็นก่อนกาลเป็นการสุ่มเสี่ยงในการหมิ่นอำนาจศาล หรือละเมิดจริยธรรมของนักกฎหมายระหว่างประเทศ นักนิติศาสตร์ผู้คุ้นเคยกับจริยธรรมในการประพฤติปฏิบัติ ย่อมต้องเคารพและปฏิบัติตามระเบียบวินัยของวงการอย่างเคร่งครัด
ข้าพเจ้าจึงขอเรียนชี้แจงในฐานะอดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญขององค์การยูเนสโกในเรื่องมรดกโลก กรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติถึงสองสมัยเป็นเวลา ๑๐ ปี เป็นผู้เสนอรายงานพิเศษ และประธานคณะกรรมการร่างกฎหมายที่ได้พิจารณาร่างอนุสัญญาต่าง ๆ รวมทั้งข้อบทอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความรับผิดชอบของรัฐ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น